Monday, 23 December 2024

คอพอกเป็นพิษ เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาอย่างไร ?

17 Feb 2022
2746

คอพอกเป็นพิษ หรือ ต่อมไทรอยด์ป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณส่วนล่างของกลางลำคอ ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ โรคคอพอกมีสาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือการขาดสารไอโอดีนจึงทำให้ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดภาวะความผิดปกติเรื้อรังถึงขั้นรุนแรงได้ คอพอกเกิดจากอะไร ? มีวิธีรักษาอย่างไร?

คอพอก เกิดจากอะไร ? 

คอพอก

โรคคอพอก หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์โต มีลักษณะของก้อนหลายแบบ เช่น โตทั่วทั้งต่อม โตเป็นก้อนเรียบที่ข้างใดข้างหนึ่ง โตแบบตะปุ่มตะป่ำ เป็นปุ่มก้อนเนื้อก้อนเดียวหรือหลาย ๆ ก้อน ซึ่งภาวะต่อมไทรอยด์โตนี้ส่วนใหญ่จะยังสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปกติ ไม่มีอาการใดๆ นอกจากผู้ป่วยคลำพบก้อนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ภาวะต่อมไทรอยด์โต อาจเกิดร่วมกับภาวะสร้างฮอร์โมนผิดกติ ส่งผลให้มีอาการแสดงของโรคไทรอยด์เป็นพิษได้

 อาการไทรอยด์เป็นพิษ มีอะไรบ้าง?

ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เหนื่อยง่าย  ใจสั่น  เหงื่อกออกมาก หิวบ่อย และมีอาการเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ เป็นเพราะว่า ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าคนปกติ บางท่านอาจจะมีการถ่ายอุจจาระมากว่า 2-3 รอบ หรืออาจเกิดภาวะตับโต ตัวและตาเหลือง ซึ่งในรายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษรุนแรง อาจเกิด “หัวใจล้มเหลว” ได้เช่นเหมือนกัน นอกจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ในบางครั้งผู้ป่วยอาจประสบกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปได้เช่นกัน โดยอาการแสดงของภาวะนี้ คือ เฉื่อยชา ขี้เกียจ ง่วงหาวบ่อย คิดช้า ซึมเศร้า ในบางรายอาจมีอาการท้องผูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริวง่าย และในรายที่ระดับอาการรุนแรง อาจพบน้ำอยู่ในช่องต่างๆ เช่น ช่องปอด

การรักษาเมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

สำหรับผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป แพทย์จะยับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยการใช้ยา หรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพของตัวผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ ในขณะที่รายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปนั้น จะใช้การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อชดเชยฮอร์โมนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เพียงพอ เป็นการรักษาสมดุลฮอร์โมนในอยู่ในระดับปกติเพราะการปล่อยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเข้าสู่ภาวะรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีโอกาสเสียชีวิตสูง การสังเกตอาการผิดปกติตลอดจนเมื่อพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลำคอ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะการมีก้อนโตบริเวณต่อมไทรอยด์นี้ อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็น “มะเร็งต่อมไทรอยด์” ได้!!

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.paolohospital.com

error: บทความมีระบบป้องกัน !!