มะเร็งเต้านม เป็นโรคร้ายที่ผู้หญิงจะต้องกลัว เพราะปัจจุบันถือได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่ง ถ้าใครได้เป็นแล้วยากมากที่จะรักษาหายขาด หรือไม่มีทางรักษาได้เลย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งที่เกิดขึ้นด้วย เป็นโรคมะเร็งเต้านมอันดับ 1 ของผู้หญิงที่คร่าชีวิตผู้หญิงนับไม่ถ้วน ลองเช็คกันได้ดังนี้
โรคมะเร็งเต้านมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
โรคมะเร็งเต้านมมักพบในเพศหญิงเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิง ส่วนในเพศชายนั้นมีอัตราการพบที่ต่ำมากๆ ซึ่ง นพ.อนิรุทธ์ นิรนาท ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา ได้อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งในร่างกายคนเราว่า “เป็นกระบวนการที่เกิดจากการที่ “เซลล์” มีการแบ่งตัวผิดปกติ ส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ และแพร่กระจายลุกลามไปตามทางเดินของต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย”
โรคมะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร?
นพ.อนิรุทธ์ นิรนาท ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา คลินิกเต้านม โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้แนะนำถึงการสังเกตอาการผิดปกติ ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ไว้ ดังนี
- ในระยะเริ่มต้นมักไม่เจ็บ
- คลำพบก้อนที่เต้านม หรือรักแร้
- ผิวนมมีรอยย่น บุ๋มไม่เรียบคล้ายเปลือกส้ม
- หัวนมบุ๋ม เกิดการดึงรั้ง
- มีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมออกจากหัวนม
โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ? สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ ?
- ระยะ 0 เป็นระยะที่มะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลามถึงเนื้อเยื่อ มีอัตรารอด 95-100%
- ระยะ 1 มะเร็งโตขึ้น ลุกลามถึงต่อมน้ำเหลืองรักแร้ด้านเดียวกับโรค มีอัตรารอด 90-100%
- ระยะ 2 มะเร็งโตขึ้นกว่าขั้นที่ 1 ลุกลามถึงต่อมน้ำเหลือง แต่ยังจำนวนน้อย อัตรารอด 85-90%
- ระยะ 3 มะเร็งโตมาก อาจแตกเป็นแผล หรือยึดติดกับกล้ามเนื้อหน้าอก ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองเป็นจำนวนมาก อัตรารอด 65-70%
- ระยะ 4 ระยะสุดท้าย มะเร็งแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด สู่อวัยวะอื่นๆ โดยทั่วไปมักอยู่ได้ไม่เกิน 3 ปี มีอัตรารอดที่ 0-20%
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- อายุมากขึ้น
- มีประวัติคนในครอบครัว เป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
- เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น กินยาฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง
- เป็นผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- ผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว ก่อนอายุ 12 ปี และผู้ที่หมดประจำเดือนช้าหลังอายุ 55 ปี
- มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปีและ หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
- เคยเป็นมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านมมาก่อน
- การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน ดื่มแอลกอฮอล์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.อนิรุทธ์ นิรนาท