Wednesday, 20 November 2024

โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid state Relay) กับการทำงานในระบบโซลาร์เซลล์

29 Oct 2023
144

โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid state Relay) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ โดยไม่มี
หน้าสัมผัสหรือหน้าคอนแทค เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัด-ต่อวงจร โซลิดสเตตรีเลย์ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ทำหน้าที่คล้ายกับรีเลย์ ไม่มีเสียง ไม่มีหน้าสัมผัส จึงไม่เกิดเสียงดังเวลาใช้งานและลดการอาร์กของกระแสไฟฟ้าขณะเริ่มต่อใช้งานวงจร เหมาะอย่างมากสำหรับระบบโซลาร์เซลล์

ซึ่ง โซลิดสเตตรีเลย์ หากนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ตัวตั้งเวลา หรือไทม์เมอร์ เพื่อสั่งให้อุปกรณ์ทำงานจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบการสั่งเปิดการทำงานของปั๊มน้ำในระบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งตัว โซลิดสเตตรีเลย์ นั้นไม่มีหน้าสัมผัสในการต่อวงจรไฟฟ้า จึงลดปัญหาเกี่ยวกับหน้าสัมผัสสึกหรอไปได้ ทำให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น โดยเมื่อรีเลย์ทำงานจะมีความร้อนสะสมเกิดขึ้นดังนั้นการติดตั้งใช้งานจึงจำเป็นต้องมีฮีตซิงค์เพื่อระบายความร้อนให้กับ โซลิดสเตตรีเลย์ และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศเข้าไปด้วยจะดีมาก

การทำงานของโซลิดสเตตรีเลย์

เราสามารถแยกโซลิดสเตตรีเลย์ ออกเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนควบคุมไฟ Input เพื่อสั่งให้โซลิดสเตตรีเลย์ทำงาน โดยเมื่อเราป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (AC หรือ DC แล้วแต่รุ่นนั้นๆ )มันจะส่งสัญญาณไปทริกให้ Triac ทำงานและต่อวงจร

ส่วนที่ 2 ซึ่งจะทำงานคล้ายกับ Relay แต่มีข้อดีกว่า ไม่มีหน้าหน้าสัมผัส (Contact) เวลาตัดต่อวงจรจะ
ไม่มีเสียงดัง ไม่เกิดประกายไฟที่หน้าสัมผัส สามารถตัดต่อวงจรได้รวดเร็วกว่า Relay นอกจากนี้ยังสามารถรองรับ
กระแสที่ไหลผ่าน Load ได้มากกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ขณะที่ Relay เมื่อป้อนแรงดันได้ตามขนาด
ของ Coil จะเกิดการเหนี่ยวนำให้หน้าสัมผัสทำงาน ซึ่งเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน จะทำให้หน้าสัมผัสเสี่ยม เนื่องการ
จากการอาร์ค ที่ผิวหน้าสัมผัส

Single Phase Solid State Relay เป็นรีเลย์ที่ไม่มีหน้าคอนแทค จึงสามารถทำงานความถี่สูงได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมี LED เพื่อแสดงสภาวะการทำงานของอินพุต

การนำ Solid state Relay (SSR) ไปใช้งาน

การนำ SSR ไปประยุกษ์ใช้งานปัจจุบันสามารถออกแบบให้ทำงานที่หลากหลายกว่า Relay เนื่องจาก
งานอะไรที่ Relay ทำได้SSR ทำได้หมด แต่ที่นอกเหนือกว่านั้น SSR สามารถใช้สัญญาณ pulse signal มาควบคุมการทำงาน SSR ให้ปล่อยกระแสตามจังหวะ เพื่อจ่ายให้กับ Load วงจรลักษณะนี้มักพบในการควบคุมการปรับความเร็วรอบของ
มอเตอร์ วงจรหรี่ไฟ เครื่องควบคุมและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาปรับใช้งานกับวงจรตั้งเวลาการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

error: บทความมีระบบป้องกัน !!