Friday, 22 November 2024

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายไหม?

19 Feb 2022
4995

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะเล็ด สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะในผู้หญิง สร้างความรำคาญใจ ความเครียด กังวล ให้กับคุณสาว ๆ อย่างมาก ถ้าหากเกิดอาการมีปัสสาวะเล็ดไม่ไปพบแพทย์ไหม?  เป็นอันตรายไหม? ศึกษาได้จากบทความข้างต้นนี้ได้เลยนะคะ

ปัสสาวะเล็ด เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปัสสาวะเล็ดหรือ Stress Urinary Lncontinence ภาวะอาการที่ปัสสาวะเล็ดราด กลั้นไม่อยู่ ควบคุมไม่ได้พบได้บ่อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะในผู้หญิง เกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่คอยพยุงท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน ภาวะยืดหย่อน หรือฉีกขาดของอวัยวะที่ช่วยยืดและพยุงท่อปัสสาวะส่วนต้น  สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 20 ของผู้หญิง ตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน

อั้นฉี่ไม่อยู่

5 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด

  1. การตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร โดยเฉพาะจำนวนครั้งของการคลอดบุตร กรณีคลอดบุตรหลายครั้งจะมีความเสี่ยงมากขึ้น ไม่จำเป็นว่าจะคลอดโดยวิธีธรรมชาติ หรือการผ่าคลอดล้วนมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น เพราะการตั้งครรภ์จะส่งผลให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานต้องรับน้ำหนักของเด็กตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
  2. อายุ พบในสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเกิดทั้งในกรณีไอ จาม
  3. ความอ้วน เนื่องจากเพิ่มน้ำหนักแรงดันในช่องท้อง และแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ
  4. ผู้หญิงที่ตัดมดลูกและหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มีผลทำให้เนื้อเยื่อที่พยุงระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานฝ่อลง
  5. รายที่มีเพศสัมพันธ์แบบพิสดาร

ลักษณะอาการเกิดปัสสาวะเล็ด และวิธีรักษาปัสสาวะเล็ด

ถ้าหากมีอาการไม่มาก การฝึกขมิบอย่างถูกวิธีเป็นประจำก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาการผ่าตัด เพราะว่าการรักษาปัสสาวะเล็ดนั้นมีหลายวิธี

  • ปวดปัสสาวะแบบรุนแรง แต่กลับไม่ยอมเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้เมื่อถึงเวลาก็จะราดออกมาเลย สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา พบมากในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน
  • มีอาการปัสสาวะราดออกมาเลย เมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง คือ ไอ หรือจาม คนที่พบในกลุ่มนี้จะเป็นผู้หญิงที่มีอายุ น้ำหนักมาก เคยมีประวัติคลอดยาก หรือเคยผ่าตัดบริเวณรอบท่อปัสสาวะมาก่อน หรือในกลุ่มคนที่เคยฉายรังสีในบริเวณนั้นมา ซึ่งกลุ่มนี้จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
  • ในส่วนวิธีการป้องกัน ไม่มีการป้องกันอาการปัสสาวะเล็ดโดยตรง แต่จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดมากกว่า เช่น การควบคุมน้ำหนัก การเตรียมการคลอดที่ดี ไม่กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ หรือนานเกินไป และออกกำลังอุ้งเชิงกรานเป็นประจำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล

error: บทความมีระบบป้องกัน !!